วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553
เทคนิคการโต้วาที
ชนะการโต้วาทีที่1 เรื่อง ปุ๋ยเคมีดีกว่าปุ๋ยชีวภาพ
ชนะการโต้วาทีที่2 เรื่อง เด็กไทยดีกว่าเด็กฝรั่งฯลฯ
อ่านรายละเอียด น้องนิ
วิธีการโต้วาที
เริ่มจาก
ประธานหรือผู้ดำเนินการโต้วาทีจะกล่าวเปิดการโต้วาที
หัวหน้าฝ่ายเสนอ แล้วจึงสลับไปเป็นหัวหน้าฝ่ายค้าน
ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่1 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่1
ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่2 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่2
เมื่อหมดเวลาการโต้วาที ผู้ดำเนินการโต้วาทีจะให้ หัวหน้าฝ่ายค้านสรุป จากนั้นหัวหน้าฝ่ายเสนอสรุป เพื่อจะได้มีโอกาสที่จะพูดแก้เหตุผลของฝ่ายค้านได้อย่างเต็มที่
เทคนิคการโต้วาที คือ
การป้องกัน หมายถึง การป้องกันญัตติด้วยการหาเหตุผลมาล้อมรั้วสาระของญัตติ
การโจมตี การกล่าวซ้ำเติม หรือกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าไร้เหตุผล
การต่อต้าน การหักล้างเหตุผลการโจมตีของฝ่ายตรงข้ามที่กล่าวโจมตีฝ่ายตน
การค้านอย่างมีศิลปะ การค้านจะทำได้ 3 วิธี คือ
ค้านญัตติ เป็นการค้านตัวญัตติหรือสาระของญัตติว่าไม่ถูกต้อง
ค้านเหตุผล เป็นการค้านเหตุผลที่อีกฝ่ายเสนอมา
ค้านข้ออ้างอิง เป็นการค้านข้ออ้างอิงที่อีกฝ่ายเสนอมา
1. ในการโต้แย้งแสดงคารม ควรใช้ความรู้ต่างๆ มาประกอบเสมอ
2.การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นการเสนอหรือการค้าน ควรเสนอข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ให้มีเหตุผลน่าเชื่อถือ
3. ควรมีศิลปะในการใช้ภาษาที่จะจูงใจให้ผู้ฟังมีความเห็นคล้อยตาม เห็นดีเห็นงามกับข้อคิดเห็น ข้อมูลต่างๆ ที่เสนอไป
4. การกล่าวคัดค้าน กล่าวแก้ ควรทำให้แนบเนียน จนผู้ฟังเห็นว่าเหตุผลของฝ่ายตรงข้ามใช้การไม่ได้ หรือเชื่อถือไม่ได้
5. ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามเสนอประเด็น ควรฟังอย่างตั้งใจ แล้วจับประเด็นสำคัญๆ ไว้เพื่อกล่าวแก้และพยายามรวบรวมเรื่องที่จะกล่าวโจมตีมากๆ
6. ควรใช้ถ้อยคำภาษาที่สุภาพ โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมอันดีงามด้วย ไม่ควรพูดเสียดสีกันในเรื่องส่วนตัว
7.ใช้คำพูดที่เหมาะสม สั้น กะทัดรัด เข้าใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องตีความ
8. ในขณะพูด ควรแสดงท่วงที กิริยา ท่าทาง และสีหน้าประกอบการพูด
9. การโต้วาทีไม่จำเป็นต้องขึงขังอย่างเอาจริงเอาจัง เพราะการโต้วาที มักจัดขึ้นเพื่อความสนุกสนาน หรือจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติของงาน
10. ขณะพูด ควรควบคุมอารมณ์ให้ดี อย่าเผลอโกรธหรือแสดงอารมณ์เสีย เพราะจะเป็นจุดอ่อนให้ถูกโจมตี
11. เมื่อเสร็จสิ้นการโต้วาทีแล้ว เรื่องต่างๆที่ว่ากล่าวกันควรเลิกกันไป
12. หากมีการตัดสินให้แพ้ ควรวางสีหน้ายิ้มแย้ม อย่าแสดงอาการไม่พอใจ
จัดทำโดย ครูภาวณี สุคนธชาติ
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช
โต้วาที วจีขับขาน
ความหมายของการโต้วาที
โต้วาที หมายถึง การแสดงความคิดเห็นเพื่อเอาชนะความคิดเห็นของอีกฝ่าย การโต้วาทีจึงเป็นการเอาชนะกันด้วย "เหตุผลของวาที"
ลักษณะสำคัญของการโต้วาที
-เป็นการเสนอเหตุผลหรือแนวความคิดของตนเอง
-เป็นการหักล้างเหตุผลหรือแนวความคิดของฝ่ายตรงข้าม
-เป็นการพูดที่ต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบอย่างมาก
-เป็นการพูดที่ออกท่าออกทางประกอบมากเป็นพิเศษ
-เป็นการพูดที่ต้องมีความพร้อมอย่างมาก เพราะต้องเตรียมคำพูดให้ขบขัน สุภาพ แหลมคมและกระชับ
ประโยชน์ของการโต้วาที
การโต้วาทีมีประโยชน์ทั้งต่อผู้ฟังและผู้โต้ดังนี้
-ประโยชน์ต่อผู้ฟัง
1.1 เกิดความเข้าใจในหลักการ เหตุผล หรือแนวคิด
1.2 ได้เรียนรู้วิธีแสดงเหตุผลแบบต่าง ๆ จากผู้โต้วาที
1.3 เกิดประสบการณ์ที่แปลกใหม่
1.4 มีโอกาสเรียนรู้การใช้ถ้อยคำสำนวนมากขึ้น
1.5 รู้จักพิจารณาเหตุผล
1.6 เสริมสร้างระบอบประชาธิปไตย
-ประโยชน์ต่อผู้โต้วาที
2.1 เกิดการปรับปรุงแนวความคิดให้ลึกซึ้งมากขึ้น
2.2 เกิดความชำนาญในการพูด
2.3 รอบรู้ในหลักวิชา
2.4 ได้ฝึกใช้ปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหา
2.5 กล้าแสดงออกอย่างถูกทาง
2.6 ได้ฝึกมารยาทการเป็นผู้พูด และผู้ฟังที่ดี
2.7 รู้วิธีการเสนอแนวคิดของตนไปยังบุคคลอื่น
จุดมุ่งหมายของการโต้วาที
จุดมุ่งหมายของการโต้วาทีแบ่งออกได้เป็น 4 ประการคือ
-การโต้วาทีเพื่อหาข้อเท็จจริง เป็นการโต้แย้งด้วยหลักวิชาการ เพื่อค้นหาความจริงและความถูกต้องของสิ่งที่โต้วาที -การโต้วาทีเพื่อลัทธิ ไม่มุ่งข้อเท็จจริง มักเป็นไปอย่างรุนแรงและจริงจัง
-การโต้วาทีเพื่อเอาชนะฝ่ายศัตรู เช่น การโต้วาทีระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยในศาล เป็นต้น
-การโต้วาทีเพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างมีแบบแผน เป็นการโต้วาทีที่ต้องดำเนินตามระเบียบการโต้วาทีอย่างเคร่งครัด
องค์ประกอบของการโต้วาที
1. ญัตติ
ญัตติ คือ หัวเรื่องที่ใช้ในการโต้วาที ลักษณะของญัตติที่ดี
1.1 เป็นญัตติที่มีข้อความไม่ตายตัว สามารถคัดค้านได้ หรือไม่ใช่ข้อความที่เป็นจริง เช่นโรคเอดส์รักษาไม่หาย
1.2 เป็นญัตติที่ก่อให้เกิดความคิดได้หลายทางที่ก่อให้เกิดความคิดเห็นได้หลายทาง ทั้งในแง่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เช่น "ผู้หญิงไม่ควรเป็นนักปกครอง" "ข้าวขึ้นราคาชาวนามั่งมี" "ควรสอนเพศศึกษาในโรงเรียนมัธยม" เป็นต้น
1.3 เป็นญัตติที่คนส่วนใหญ่สนใจ
1.4 เป็นญัตติที่ช่วยให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์ มีสาระและช่วยผู้ฟังเกิดความคิดที่กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม
1.5 เป็นญัตติที่ไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก หรือลบหลู่สถาบันใด ๆ เช่น รักกันหนาต้องพากันหนี 2. ประธาน (หรือผู้ดำเนินการโต้วาที)
ประธานควรระวังในเรื่องต่อไปนี้
2.1 ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เผลอกล่าวสนับสนุนผู้โต้วาทีคนใดคนหนึ่งเป็นอันขาด
2.2 ต้องพูดให้น้อยที่สุด เพราะผู้ฟังเน้นมาฟังผู้โต้วาทีมากกว่า
2.3 ต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ทั้งเรื่องกำหนดการ ข้อมูลเกี่ยวกับญัตติ กรรมการ และผู้โต้วาที
3. กรรมการ
โดยปรกติมักกำหนดให้มีจำนวนคี่เพื่อความสะดวกในการตัดสิน
3.1 ประเด็นในการโต้
3.2 เหตุผล
3.3 การหักล้าง
3.4 วาทศิลป์
3.5 มารยาท คือท่าทาง เนื้อหาที่พูด การใช้ถ้อยคำ และการตรงต่อเวลา
3.6 ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นน้ำเสียง วิธีพูด และท่าทาง
4.ผู้โต้วาที
ในการโต้วาทีจะแบ่งผู้โต้วาทีเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายเสนอและฝ่ายค้าน ไม่จำกัดจำนวนว่าผู้โต้วาทีจะมีกี่คน แต่ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีจำนวนเท่ากันและมีหัวหน้าฝ่ายฝ่ายละ 1 คน
5. ผู้ฟัง
ผู้ฟังควรรู้จักพิจารณาถ้อยคำที่โต้ ตอนใดผู้โต้วาทีพูดดีเป็นที่ประทับใจควรปรบมือให้
การจัดการโต้วาที
ฝ่ายเสนอจะนั่งทางขวามือของผู้ดำเนินการโต้วาที ฝ่ายค้านจะนั่งทางซ้าย โดยหัวหน้าฝ่ายทั้งสองฝ่ายจะนั่งที่นั่งแรก เวลาที่ใช้ในการโต้วาที มี 4 แบบ
-533
-644
-755
-866
ตัวเลขตัวแรก คือ เวลาที่คิดเป็นนาทีที่หัวหน้าฝ่ายแต่ละฝ่ายใช้พูดในตอนต้น
ตัวเลขตัวกลาง คือ เวลาที่คิดเป็นนาทีที่ผู้สนับสนุนแต่ละคนใช้พูด
ตัวเลขตัวท้าย คือ เวลาที่คิดเป็นนาทีที่หัวหน้าฝ่ายแต่ละฝ่ายใช้สรุป วิธีการโต้วาที
ประธานหรือผู้ดำเนินการโต้วาที
จะกล่าวเปิดการโต้วาที ต่อมาเป็นหัวหน้าฝ่ายเสนอ แล้วจึงสลับไปเป็นหัวหน้าฝ่ายค้าน สลับไปมาเช่นนี้ เมื่อหมดเวลาการโต้วาที ผู้ดำเนินการโต้วาทีจะให้หัวหน้าฝ่ายค้านเป็นผู้สรุปก่อน จากนั้นหัวหน้าฝ่ายเสนอจะเป็นผู้สรุปสุดท้าย เพื่อจะได้มีโอกาสที่จะพูดแก้เหตุผลของฝ่ายค้านได้อย่างเต็มที่
เทคนิคในการโต้วาที
เทคนิคการโต้มี 4 ประการ คือ
-การป้องกัน หมายถึง การป้องกันญัตติด้วยการหาเหตุผลมาล้อมรั้วสาระของญัตติ
-การโจมตี หมายถึง การกล่าวซ้ำเติม หรือกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าไร้เหตุผล
-การต่อต้าน หมายถึง การหักล้างเหตุผลการโจมตีของฝ่ายตรงข้ามที่กล่าวโจมตีฝ่ายตน
-การค้านอย่างมีศิลปะ การค้านจะทำได้ 3 วิธี คือ
4.1 ค้านญัตติ เป็นการค้านตัวญัตติหรือสาระของญัตติว่าไม่ถูกต้อง
4.2 ค้านเหตุผล เป็นการค้านเหตุผลที่อีกฝ่ายเสนอมา
4.3 ค้านข้ออ้างอิง เป็นการค้านข้ออ้างอิงที่อีกฝ่ายเสนอมา ข้อแนะนำสำหรับผู้โต้วาที
ผู้โต้วาทีควรเป็นผู้รอบรู้ในด้านต่าง ๆ
ผู้โต้วาทีควรมีเวลาเตรียมตัวมากพอสมควร
ผู้โต้วาทีควรพูดอยู่ในประเด็น
ผู้โต้ต้องมีสติ ไม่เผลอพูดสนับสนุนฝ่ายตรงข้าม
ผู้โต้วาทีต้องมีวาทศิลป์
ผู้โต้วาทีต้องมีอารมณ์ขัน
ผู้โต้วาทีควรคำนึงถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวม
ผู้โต้วาทีจะต้องระมัดระวังเรื่องมารยาทให้มาก
ผู้โต้วาทีต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
http://khrunamwan.blogspot.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจในการให้บริการออนไลน์สำหรับการช่วยเหลือเงินกู้ 200,000 ยูโรเพื่อเริ่มต้นครอบครัวของฉันภายใน 24 ชั่วโมงหากคุณสนใจที่จะกู้เงินด่วนในอัตราต่ำติดต่อ Trustloan Online Services ที่: {trustloan88 @ g m a l l. c o m}
ตอบลบ