วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วิธีการย่อความ และรูปแบบของย่อความ
การย่อความเป็นการช่วยสรุปใจความสำคัญของสิ่งที่ได้ฟัง ได้อ่าน ช่วยให้จดจำสาระต่างๆ ได้แม่นยำ และจำเป็นสำหรับการศึกษา หาความรู้เพราะช่วยให้จดบันทึกต่าง ๆ ได้รวดเร็ว และสามารถนำมาทบทวนต่าง ๆ ได้รวดเร็ว และสามารถนำมาทบได้ภายหลัง
วิธีการฝึกเขียนย่อความ
อ่านเรื่องที่ต้องการย่ออย่างละเอียด ด้วยความเป็นกลางหลายๆรอบ ว่าผู้เขียนต้องการเน้นหรือเสนอเรื่องอะไร มีความสำคัญอะไรบ้าง
อ่านพิจารณา จับใจความสำคัญออกมาบันทึกด้วยภาษาที่รัดกุม
นำใจความทั้งหมดมาเรียบเรียงใหม่ ให้เนื้อความสำคัญกันตามลำดับโดยใช้ประโยคสั้นๆ ความหมายชัดเจน
ทบทวนข้อความเรียบเรียงอีกครั้ง ดูความบกพร่องอย่างถี่ถ้วนว่า ความหมายของเรื่องตกไปหรือเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่
รูปแบบการย่อความ
มีดังนี้
1. ถ้าเรื่องที่จะย่อเป็น บทความ นิทาน นิยาย ตำนาน ประวัติ คำประพันธ์ให้บอกประเภท ชื่อเรื่อง ที่มาของเรื่อง ถ้าเดิมไม่มีชื่อเรื่องต้องตั้งขึ้นเอง แบบขึ้นต้นย่อความดังกล่าวข้างต้นมีรูปแบบขึ้นต้นดังนี้
บทความเรื่อง……………………………......................................................
(ใครเป็นผู้แต่ง) ของ..........................................................................
(จากหนังสืออะไร หน้าเท่าไร) จาก.......................................................
มีความว่า……....................................................................................
2. ถ้าเรื่องที่จะย่อเป็น จดหมาย หรือ หนังสือราชการ ขึ้นต้น ดังนี้
จดหมาย, หนังสือราชการ ของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร........................
เรื่อง................................................................................................
วัน เดือน ปี ......................................................................................
มีความว่า……....................................................................................
3. ถ้าเป็นจดหมายตอบรับ ขึ้นต้นดังนี้
ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
เรื่องอะไร ........................................................................................
วัน เดือน ปี อะไร ..............................................................................
ความฉบับแรกว่าอะไร ........................................................................
ใครตอบเมื่อไร ..................................................................................
มีความว่า….......................................................................................
4. ถ้าเรื่องที่จะย่อเป็น พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท โอวาท ปาฐกถาสุนทรพจน์ คำปราศรัย คำเทศนา ขึ้นต้นดังนี้
พระราชดำรัส ของ............................................................................
ล่าว (แสดง,ให้,พระราชทาน…..ฯลฯ) แก่...............................................
เรื่องอะไร (ถ้ามี)
เนื่องในงานอะไร(ถ้ามี)
ณ ที่ใด ...........................................................................................
เมื่อไร .............................................................................................
ถ้าย่อจากหนังสือ ให้บอก วัน เดือน ปี ปีที่พิมพ์ และหน้า ...........................
มีความว่า……....................................................................................
จาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=326cc5b139727203&pli=1
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น